วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

จากคำว่า “สิ่งประดิษฐ์” สู่ “นวัตกรรมทางการศึกษา”

ความก้าวหน้า และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้น มันไม่ง่ายเลยที่เราแต่ละคนจะสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงนั้นไปได้ทุกๆอย่าง ในวงการการศึกษาก็เช่นเดียวกันค่ะ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในยุคปัจจุบันก็ก้าวหน้าไปมาก ในฐานะที่ตัวเราเองเป็นครู จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง นำสิ่ง หรือสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การเรียนของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          สำหรับครูวิทยาศาสตร์ เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่าต้องใช้สื่อการสอนเป็นตัวช่วยในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก แต่ด้วยข้อจำกัด และเหตุผลในหลายๆอย่าง เราก็ทำได้แค่เพียงคิดสิ่งประดิษฐ์จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอน  

ขอยกตัวอย่างนะคะ

>> พี่กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนนทรีวิทยา (รุ่นพี่ เอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป มศว ค่ะ)
หลายๆคนอาจจะรู้จักค่ะ เพราะพี่กอบวิทย์เป็นครูสอนอยู่ที่รายการโทรทัศน์ครู และมีเว็บไซต์เกี่ยวกับการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์
   
                 



สิ่งประดิษฐ์ทั้งสองชิ้นนะคะ จะเน้นให้ผู้เรียนเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถเรียนรู้ได้จากของจริงที่อยู่นอกห้องเรียน แต่สามารถประดิษฐ์สื่อที่ใกล้เคียง และสามารถเรียนรู้ได้ภายในห้องเรียนค่ะ

จากสื่อการเรียนรู้ข้างต้น จะเห็นได้นะคะว่า แค่เพียงเรารู้จักคิดและประดิษฐ์สิ่งเรียนรู้ใหม่ๆนอกเหนือจากหนังสือเรียนได้ค่ะ


ในปัจจุบัน สื่อและสิ่งประดิษฐ์ทางการศึกษาที่เรารู้จักกัน ถูกเรียกให้เข้ากับยุคและสมัยที่เปลี่ยนแปลงไ

-------------------------------->>>>>>> “นวัตกรรมทางการศึกษา”

          ความหมายก็คือ ความคิดและกระบวนการใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนามาใช้ ก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น





จากภาพจะเห็นว่า Innovation ( มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา) ที่แปลว่า นวัตกรรม  ซึ่งคำๆเดียวนี้สามารถส่งผลให้เกิดแนวคิดและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆได้อย่างหลากหลาย


ในทางการศึกษาก็เช่นเดียวกันค่ะ
          ปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
          1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น 
          - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) 
          - แบบเรียนสาเร็จรูป (Programmed Text Book) 
          - เครื่องสอน (Teaching Machine) 
          - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
          2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น 
          - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
          - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
          - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases) 
          3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่ สนองแนวความคิด เช่น 
          - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) 
          - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) 
          - แบบเรียนสาเร็จรูป (Programmed Text Book) 
          - การเรียนทางไปรษณีย์ 
          4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น 
          - มหาวิทยาลัยเปิด 
          - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ 
          - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสาเร็จรูป 

แต่จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดีขึ้น ดังนี้

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
          การนำ เทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานาเทคโนโลยีมาใช้ด้วย 
          1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
          2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
          3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป


 จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างนวัตกรรม มีนวัตกรรมทางการศึกษาชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจค่ะ

“Blackboard learn”
          เป็นระบบสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยครูผู้สอนสามารถสร้างรายวิชา บันทึกข้อมูลรายวิชา เนื้อหา และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเป็นเว็บไซต์รายวิชาได้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้งานในฟังก์ชันต่างๆของระบบได้
- การประกาศช่าวสาร
- การเผยแพร่เอกสารต่างๆ
- การรับ – ส่ง การบ้าน
- การจัดทำแบบทดสอบความรู้
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การประเมินผลการเรียน
ซึ่งนวัตกรรมการเรียนรู้นี้ทางศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน (คล้ายๆกับ A-tutor ของมศว ค่ะ)


จากภาพ เป็นรูปแบบ Blackboard learn สำหรับใช้เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ค่ะ






จากภาพ เป็นการใช้ blackboard learn ผ่าน  Blackboard Mobile ซึ่งออกแบบให้ทำงานกับเครื่องมือพกพาแบบต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และได้ให้สิทธิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ Feature : Blackboard Mobile Learn ฟรีเป็นเวลา 1 ปี โดยสามารถ Download Application Bb Mobile ได้ที่ App Store ซึ่งการเรียนรู้ผ่าน Bb Mobile สามารถใช้ได้สะดวก สบาย ทุกที่ ทุกเวลาค่ะ


          จากสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แม้เป็นเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีมูลค่ามาก แต่หากเพียงเรารู้จักนำมาประยุกต์ใช้ นวัตกรรมการศึกษาใหม่ก็สามารถเกิดขึ้นและใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ แต่ถ้าเรานำเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา และสร้างความก้าวหน้าที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในยุคปัจจุบัน มาสรรค์สร้างเป็นสื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ ก็จะส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กไทยเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


 แหล่งที่มา
- www.tercherkobwit2010.wordpress.com
- www.lic.chu.ac.th/-blackboard.html
- www.it.east.spu.ac.th/informatics/admin/knowledge

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น